ร้าน เปียโนพระเครื่อง
www.pianoamulet7.99wat.com
0894255525
pianoamulet

ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่ ร้านค้าพระเครื่องออนไลน์ พระเครื่อง ถูกๆ พระเก่าหายาก PIANOAMULET เปียโนพระเครื่อง เรายินดีที่จะให้บริการท่านด้วย พระดีที่มีมาตรฐานในราคาพิเศษสุดๆ ติดต่อสอบถาม  LINE ID: pianoamulet 089-4255525 หรือ โทร. 099-3512535
 

 
พระผงพิมพ์ลีลา ยุคต้น หลวงปู่เส็ง จันทฺรังสี วัดบางนา ปทุมธานี #210w


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
เปียโนพระเครื่อง
โดย
เปียโน
ประเภทพระเครื่อง
พระเกจิทั่วไป
ชื่อพระ
พระผงพิมพ์ลีลา ยุคต้น หลวงปู่เส็ง จันทฺรังสี วัดบางนา ปทุมธานี #210w
รายละเอียด
พระผงพิมพ์ลีลา ยุคต้น หลวงปู่เส็ง จันทฺรังสี เทพเจ้าชาวรามัญ วัดบางนา อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ปี 2520 หายาก สภาพสวย

หลวงปู่เส็ง จันทฺรังสี เทพเจ้าชาวรามัญ วัดบางนา อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
ดินแดนย่านอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ในอดีตเป็นแหล่งพำนักพักพิงของชาวรามัญ ที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย เมื่อครั้งเกิดศึกสงครามรบพุ่งกันระหว่างไทยกับพม่า ทำให้ชาวรามัญส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพม่าต้องหลบลี้หนีภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทย มาลงหลักปักฐานอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะย่านอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันยังมีร่องรอยโบราณวัตถุและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เป็น ฝีมือของชาวรามัญหลงเหลือให้ได้ศึกษากันหลายแห่ง

วัดบางนา ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ร่วม 300 ปีมาแล้ว เป็นวัดที่ชาวรามัญสร้างขึ้นมาใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจตามประเพณี และเป็นสถานศึกษาแก่บรรดาลูกหลานของชาวรามัญในย่านนั้น ชาวรามัญอพยพจากเมืองหงสาวดีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย มาตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ตามสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้นเมื่ออยู่ดีมีสุขทำมาหากินอุดมสมบูรณ์ดีแล้ว มักจะสร้างวัดขึ้นมาเพื่อให้ลูกหลานได้บวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ในการสร้าวัดของชาวรามัญนั้น เมื่อสร้างเสร็จจะทำเสาหงส์ไว้หน้าวัด เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบกันว่าวัดนั้นเป็นวัดที่ชาวรามัญสร้างขึ้นถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา
วัดบางนาเดิมอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตก ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดบางนา ต่อมาย้ายร่นลงไปอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา ประวัติความเป็นมาเดิมของวัดบางนา จากหลักฐานที่ได้พบทราบว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2310 และจากการคาดการณ์ตามอายุของสิ่งต่างๆ ตลอดจนอายุการก่อสร้างอุโบสถ มีหลักฐานยืนยันการสร้างอุโบสถมาแล้วถึง 4 หลังด้วยกัน กล่าวคือ พอโบสถ์หลังเก่าพังลงก็ทุบทิ้ง แล้วสร้างขึ้นมาใหม่เป็นอย่างนี้ถึง 4 หลัง อายุกาลของวัดจึงน่าจะอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และจากลำดับสมภารปกครองวัดเท่าที่ทราบจากการบอกเล่าสืบต่อกันมา สมภารองค์แรกของวัดบางนาคือ หลวงพ่อแดง ต่อจากหลวงพ่อแดงก็คือ หลวงปู่แร่ว, หลวงปู่ทัด ลาหุโล, หลวงปู่เส็ง จันทฺรังสี หรือพระครูธรรมสุนทร, หลวงพ่อแสวง หรือท่านพระครูอนุกูลศาสนกิจ จนกระทั่งมาถึงพระอธิการยงยุทธ ยโสธโร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน


หลวงปู่เส็ง เป็นพระปฏิบัติท่านมักจะออกธุดงค์ไปปริวาสกรรมทุกปีมิได้ขาด มีปฏิปทาในทางสมถะหมั่นบริกรรมภาวนาเจริญพระคาถาวิชาต่างๆ เล่ากันว่าเวลาว่างจากงานที่ต้องกระทำ ท่านจะนั่งนับลูกประคำที่คล้องคออยู่ บริกรรมพระคาถาตลอดเวลา หลวงปู่เป็นคนพูดน้อยไม่ค่อยพูดว่ากล่าวผู้ใด หลวงปู่เส็งเป็นสมภารปกครองวัดเรื่อยมาจนกระทั่งอายุ 65 ปี ท่านจึงเริ่มทำวัตถุมงคลการทำวัตถุมงคล ครั้งแรกนั้นท่านสร้างพระผงสมเด็จ 3 ชั้น รุ่นแรกของวัดบางนา ในปี พ.ศ.2510 หลังจากสร้างพระผงสมเด็จ 3 ชั้นออก มาแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาแล้ว ในปีนั้นเองหลวงปู่ก็ทำเหรียญรูปอาร์มหรือใบเสมาคว่ำเป็นรุ่นแรกออกมาอีก และนับแต่ปี พ.ศ.2510 เป็นต้นมาหลวงปู่เส็งก็สร้างวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆ ออกมามากมายแทบจะนับรุ่นกันไม่ได้เลยทีเดียว หลวงปู่สร้างวัตถุมงคลทุกปีๆ หนึ่งสร้าง 2-3 แบบ จนกระทั่งท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2530 รวมระยะเวลาการทำวัตถุของหลวงปู่เส็ง 20 ปี และวัตถุมงคลของหลวงปู่ทุกรุ่นทุกแบบก็มีผู้เลื่อมใสหามาพกติดตัว และบูชากันมากมาย วัตถุมงคลของหลวงปู่เส็งนั้น ออกไปในทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยมและการค้าขายดีเยี่ยม วัตถุมงคลของหลวงปู่เส็ง รุ่นนิยมเท่าที่พอลำดับความได้มีดังนี้

พระผงสมเด็จ 3 ชั้น รุ่นแรกจัดสร้างปี 2510 ผงที่นำมาสร้างเป็นผงอิทธิเจ ซึ่งจะโน้มไปในทางเมตตามหานิยมและค้าขาย พระผงสมเด็จ 3 ชั้นรุ่นแรกด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปพระประธานนั่งสมาธิ มีซุ้มครอบแก้ว ด้านหลังเป็นลายมือเขียนว่า “พระครูเส็ง” บางองค์เขียนว่า “เส็ง” และบางองค์ ก็เขียนว่า “พระครูเส็ง จันทฺรังสี” แล้วแต่ว่าหลวงปู่จะเขียนอะไรคำไหน แต่ส่วนใหญ่จะทำเป็นแบบพิมพ์เป็นบล็อค ใช้กดลงไปบนหลังพระเวลากดพิมพ์ เนื้อพระมีทั้งเนื้อน้ำมัน ลักษณะพระจะออกแกร่งมัน กับสูตรผสมเนื้อกล้วยพิมพ์ออกมามีทั้งหมด 5 สี คือ สีดำ เหลือง เขียว แดง และ ขาว พอทำเสร็จหลวงปู่ก็ปลุกเสกเดี่ยวแล้วออกแจกจ่ายแก่ญาติโยมที่ไปหาท่าน บางรายนำพระพกติดตัวไปประสบอุบัติเหตุเกิดแคล้วคลาดอย่างเหลือเชื่อ กิตติศัพท์พกพระหลวงปู่เส็งแล้วแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุมีบ่อยครั้งมากจนกระทั่งเลื่องลือไปทั่ว พุทธคุณพระผงสมเด็จ 3 ชั้น รุ่นแรกของหลวงปู่เส็ง เรื่องแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุเป็นเลิศ หลังทำพระผงรุ่นแรกทิ้งช่วงปลายปี ท่านก็ทำเหรียญรุ่นแรกออกมาเป็นเหรียญใบเสมาคว่ำมีทั้งเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงปู่ครึ่งองค์มีอักษรเขียนว่า “อาจารย์เส็ง” ด้านหลังเป็นยันต์ ใต้ยันต์มีอักษรระบุชื่อวัดบางนา พ.ศ.2510 ปีที่จัดสร้าง และพระผงที่ทำออกมานั้นส่วนใหญ่จะบรรจุตะกรุดสาริกาดอกเล็กๆ ไว้ที่ฐานด้วย เพื่อเสริมพุทธคุณ

การทำพระเครื่องของหลวงปู่เส็ง จนถึงปี 2512 หลวงปู่จะเอาพระเครื่อง ที่ทำออกมาไปปลุกเสกเดี่ยวในอุโบสถ ถ้าเป็นเหรียญ ท่านจะทำพิธีพุทธาภิเษกนิมนต์พระระดับเจ้าอาวาสละแวกวัดบางนามาเจริญพุทธมนต์ด้วย หลังจากปี 2512 การทำวัตถุมงคลหลวงปู่จะจัดพิธีพุทธาภิเษกในอุโบสถตลอด พระผงรุ่นที่โด่งดังมากก็คือ รุ่นขี่หมู ซึ่งรุ่นนี้มีลูกศิษย์ของหลวงปู่เป็นคนจัดสร้างขึ้นมานำไปให้หลวงปู่ทำพิธีพุทธภิเษก แล้วก็มอบพระให้หลวงปู่ไว้จำนวนหนึ่ง บรรดานักเล่น พระนิยมกันมาก

สำหรับวัตถุมงคลรูปแบบต่างๆ นั้น ครั้งแรกหลวงปู่จัดสร้างหมูทองแดงในปี 2522 สาเหตุ การจัดทำหมูทองแดงของหลวงปู่เส็งนั้นสืบเนื่องมาจากในตำนานกล่าวกันว่า หมูทองแดงตามป่าเขาที่เป็นหมูเขี้ยวตันนั้นปืนยิงไม่เข้า หลวงปู่ก็เลยคิดทำวัตถุมงคลเป็นหมูทองแดงเขี้ยวตันขึ้นมา เล่ากันว่าระหว่างที่หลวงปู่ปลุกเสกหมูทองแดงร่วมกับพระที่นิมนต์มาเจริญพุทธมนต์อยู่ในโบสถ์นั้น มีชาวบ้านเห็นหมูวิ่งเข้าไปในโบสถ์ขณะที่พระสงฆ์กำลังปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่ทั้งๆ ที่รอบโบสถ์ด้านนอกปิดกั้นอย่างดีไม่ให้ใครเข้าไปรบกวนสมาธิ ขณะที่พระสงฆ์กำลังเจริญพระพุทธมนต์และบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล หลังเสร็จพิธีคนที่พบเห็นเข้าไปบอกหลวงปู่ ท่านก็เฉยๆ แถมหัวเราะอย่างอารมณ์ดี ท่านไม่ได้พูดอะไรแต่รับฟังเอาไว้

ครั้นเมื่อทำหมูทองแดงออกมาแจกกันเป็นที่ฮือฮาพอสมควร หมูทองแดงที่สร้างนั้นเป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ มีหมูทองแดงตัวใหญ่และเล็ก ข้างลำตัวซ้ายมีอักษรเขียนว่า “วัดบางนา ปทุมธานี 2522” ข้างลำตัวด้านขวาเป็นอักขระขอมมียันต์ที่โคนขาทั้ง 4 ลักษณะเป็นหมูป่าเขี้ยวตัน และในปี 2524 หลวงปู่เส็งได้จัดสร้าง ทำหมู 7 หัวขึ้นมา เป็นลักษณะหมูป่าเขี้ยวตัน คู้ขาหมอบที่เรียกว่า 7หัวนั้น หมายถึงหัวของปลัดขิกที่ทำไว้ตามลำตัวมี 7 แห่ง คือที่หัว หาง ที่เพศ และที่ปลายเท้าทั้งสี่ข้าง เป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ ข้างลำตัวด้านซ้ายระบุปี พ.ศ.ที่จัดสร้างคือปี 2524 นอกจากนี้หลวงปู่เส็งได้ทำหมูจัมโบ้ ขนาดใหญ่ออกมาอีก 1 รุ่น หมูทองแดงรุ่นแรกทำออกมาแค่ 2,500 ตัวเท่านั้น พุทธคุณไปในทางแคล้วคลาดและค้าขาย
หลังจากทำหมูทองแดงออกมาหลวงปู่ก็จัดทำครุฑทองแดง ซึ่งครุฑเป็นสัตว์ที่มีอำนาจจัดทำพิธีพุทธาภิเษกในโบสถ์มีพระอาจารย์มาร่วมบริกรรมพุทธคุณอีก 10 รูป ครุฑทองแดงด้านหลังเขียนว่า “หลวงปู่เส็ง วัดบางนา ปทุมธานี 2522” สลับกับอักขระขอม ประสบการณ์มีผู้นำติดตัวไปแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทางรถและทางเรือ อีกทั้งยังป้องกันภัย จากงูเงี้ยวเขี้ยวขอดีนัก ต่อมาหลวงปู่จัดสร้างรูปเหมือนหนุมาน เหตุผลที่จัดทำนั้นท่านถือว่าหนุมานเป็นลิงประจำปีวอกและด้วยหนุมานเองก็เป็นศิษย์ของพระนารายณ์ มีอานุภาพฤทธิ์เดชมากมาย ที่จัดทำไว้มีเนื้อกะไหล่เงินและทองแดง ไม่ระบุปีจัดสร้าง จาก หมู ครุฑ หนุมาน ต่อมาท่านก็สร้างพญาเต่าเลือนเนื้อทองแดงผสมโลหะ แล้วจัดสร้างหงส์ทอง หงส์เงิน อีก 1 ชุด เนื้อกะไหล่ทองและกะไหล่เงิน ทำเพื่อเป็นที่ระลึกว่าวัดบางนานั้นเป็นวัดที่ชาวรามัญสร้างขึ้นมา
ครั้นเมื่อหลวงปู่มรณภาพลง ท่านพระครูอนุกูลศาสนกิจ หรือหลวงพ่อแสวง ก็ขึ้นเป็นสมภารแทน ท่านก็ทำนุบำรุงวัดเอาวัตถุมงคลหลวงปู่เส็งมาจำหน่ายจ่ายแจกรายได้สร้างวัด ยุคของหลวงพ่อแสวง เป็นยุคของการพัฒนาวัดอย่างจริงจังไม่มีการออกวัตถุมงคล จะมีออกเหรียญรูปไข่ในงานฉลองสมณศักดิ์ของหลวงพ่อแสวงที่ได้เลื่อนเป็นพระครูชั้นโท เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม ปี 2535 เสร็จสิ้นงานฉลองไม่นานหลวงพ่อแสวง ก็มรณภาพเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ปลายปีนั้นเอง รวมอายุ 70 ปี

เมื่อสิ้นหลวงพ่อแสวง พระอธิการยงยุทธ ยโสธโร ก็ขึ้นเป็นสมภารปกครองวัดสืบมาจนทุกวันนี้ วัดบางนาตั้งอยู่ในเขตตำบลบางโพธิ์เหนือ หมู่1 อำเภอสามโคก หน้าวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ไปวัดบางนาและไปกราบศพหลวงปู่เส็ง ที่ไม่เน่าไม่เปื่อยในโลงแก้ว ทางวัดสร้างวิหารติดริมแม่น้ำไว้เก็บสรีระของหลวงปู่เป็นสัดส่วนให้ไป ขอพรขอโชคลาภจากหลวงปู่
ราคา
700
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
0894255525
ID LINE
pianoamulet
จำนวนการเข้าชม
1,932 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ธนาคารทหารไทย / 026-2-65447-8
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 376-2-02304-1
ธนาคารกรุงเทพ / 082-0-06435-0